กีฬาเปตอง ทำความรู้จัก กับประวัติความเป็นมา ของกีฬานี้
กีฬาเปตอง สวัสดีค่ะทุกคน ในทุกวันนี้ กระแสของกีฬา ก็ยังคงมีความโด่งดัง กันแบบไม่ขาดสาย กันเลยทีเดียว เพราะว่าหลายคน ชื่นชอบในเสน่ห์ของกีฬา และชอบการที่ได้เล่น มันเป็นการทำเวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์
เพราะนอกจากจะสนุกแล้ว ยังเป็นการช่วยออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรง แถมยังช่วยให้อารมณ์ดีอีกด้วย โดยมันจะแตกต่าง จากการออกกำลังกาย แบบดูแลตัวเองทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น การที่เราออกกำลังทุกเย็น ก็คือการวิ่ง หรือการกระโดดเชือก
เราก็อาจจะฟังเพลง แล้วก็ทำกิจกรรมไปด้วย เราจะได้ไม่เหงา แล้วก็จะได้เพลิดเพลินไปกับมัน แต่ส่วนใหญ่แล้ว เราก็มักจะออกกำลังกายคนเดียว ทำคนเดียว วิ่งคนเดียว อะไรแบบนี้ เหมาะกับคนที่ สามารถทำนู่นทำนี่ หรืออยู่คนเดียวได้สบาย ๆ
แต่ถ้าพูดถึง ในเรื่องของการเล่นกีฬา สังเกตได้ว่า กีฬาส่วนใหญ่ จะเล่นเป็นทีม หรือเป็นกลุ่มมากกว่า เพราะจะใช้ความสามัคคี การทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งเหมาะกับคนที่อยากออกกำลังกาย แต่ไม่ชอบอยู่คนเดียวมาก ๆ เราไม่จำเป็นต้องทำท่าเดิม ๆ ทุกวันตามตารางการออกกำลังกายเลย เราสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
ทำให้มันดูไม่น่าเบื่อ แล้วแต่ละครั้งที่เล่น เราก็จะไม่รู้ตัวเลย ว่าเราเล่นไปนานแค่ไหน รู้ตัวอีกทีก็เหนื่อย เหงื่อออกท่วมตัวหมดแล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะเราจะเล่นเป็นเกม ไม่ได้นับเป็นครั้ง เหมือนกับการกระโดดตบ การลุกนั่ง
แต่หากคนไหน ที่ไม่ชอบการวิ่ง หรือการที่ต้องเหนื่อย แบบเหงื่อออกเยอะขนาดนั้น เราก็จะมาแนะนำ กีฬาที่แค่ยืนเฉย ๆ ก็เหนื่อยได้ แถมยังได้กล้ามเนื้อตรงจุดดีอีกด้วย ซึ่งกีฬาชนิดนี้ ก็มีชื่อว่า กีฬาเปตอง โดยเราจะพาทุกคน ไปรู้จักกับประวัติ ของกีฬานี้ กันก่อนดีกว่า
โดยกีฬาเปตองนั้น จัดได้ว่าเป็นกีฬาสากล ที่มีคนเล่นกันทั่วโลก กีฬาเปตอง ภาษาอังกฤษ เราจะใช้คำว่า petanque sport หลายคนอาจจะงง ว่าทำไมพออ่าน ในแบบภาษาอังกฤษแล้ว มันดูเหมือนไม่ได้อ่านว่าเปตองเลย ซึ่งความจริงแล้ว มันมาจากคำว่า pétanque ในภาษาฝรั่งเศส ด้วยสำเนียงของบ้านเขา จึงทำให้อ่านออกมาได้แบบนี้
เปตองเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศใด ต้องบอกก่อนเลยว่า กีฬาเปตอง นี้ มีมาได้นานมากแล้ว ตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์เลยก็ว่าได้ แต่ว่าไม่ได้มีการบันทึก แบบเด่นชัดเอาไว้ แต่ได้มีการเล่าแบบปากต่อปากกันมาว่า เกิดขึ้นครั้งแรก ในประเทศกรีซ
เมื่อช่วงประมาณ 2000 ปีก่อนสมัยคริสตกาลอีก โดยต้นกำเนิดเนี่ย มาจากการที่มนุษย์ ได้เก็บก้อนหิน ในลักษณะของทรงกลม ที่พบเจอได้แถว ๆ ภูเขาหรือว่าอาจจะเป็นใต้ทะเล แล้วนำมาโยนเล่นกัน
แล้วในเวลาต่อมา ก็ได้มีการเผยแพร่มาเรื่อย ๆ เริ่มจากฝั่งของยุโรปก่อน พออาณาจักรโรมันได้อำนาจ ก็เข้ายึดแผ่นดิน ของชาวกรีกทันที แล้วชาวโรมันก็เลยใช้กีฬาเปตอง เป็นตัววัดกำลังข้อมือ และเป็นตัวออกกำลังกาย ของเพศชายในสมัยนั้น
ซึ่งนี่ก็เป็นประวัติแบบสากล และมันก็จะมีเป็น ประวัติกีฬาเปตองในประเทศไทย และ กีฬาเปตองเข้ามาในประเทศไทยเมื่อใด อีกด้วย ต่อมาเราก็จะมาทำความรู้จัก กับพวกกติกาและอุปกรณ์ ในการเล่นกีฬาเปตอง กันเลยดีกว่า
กีฬาเปตอง อุปกรณ์และสนาม ที่ใช้ในการเล่นและการแข่งขัน
องค์ประกอบ ของกีฬาเปตอง มาเริ่มกันที่อุปกรณ์ กันก่อนดีกว่า แน่นอนว่าจะต้องมี สิ่งที่เรียกว่า ลูกเปตอง หรือที่บางคน อาจจะเรียกว่า ลูกบูล Boule โดยมันก็คือคำที่มาจาก ภาษาฝรั่งเศสอีกเช่นเคย ที่แปลว่าลูกกลม แต่หากเป็นที่ไทย ส่วนใหญ่จะเรียกกันว่า ลูกเปตองมากกว่า
โดยมันจะถูกทำขึ้นด้วยโลหะ ภายในจะกลวง ๆ เป็นลักษณะของรูปครึ่งวงกลม โดยนำมันมาประกบกัน แล้วจากนั้นก็เคลือบ แล้วจบด้วยการทำลวดลายบนลูก โดยมันก็จะมีอยู่ 5 อย่างสำหรับองค์ประกอบลูกเปตอง
- ขนาด โดยจะวัดจาก เส้นผ่านศูนย์กลางของมัน โดยจะมีขนาดอยู่ที่ 7.05 ไปจนถึง 8 เซนติเมตร ซึ่งขนาดของมัน จะไม่มีบอกบนลูกเปตองนะ แต่จะบอกไว้บนกล่อง ที่ใช้บรรจุมันมา
- น้ำหนัก จะมีการวัดแบบกรัม ปกติจะอยู่ที่ 650 – 800 กรัม จะมีการบอกไว้ที่ลูก และที่บรรจุ
- ลักษณะ ก็คือพวกลวดลายนั่นแหละ ทำขึ้นเพื่อให้สามารถแยกได้ง่าย โดยส่วนใหญ่แล้ว จะแบ่งเป็นลูกโล้น หรือลูกเกลี้ยง กับลูกลาย ก็คือลูกที่มีลาย ซึ่งก็จะมีลวดลายให้เลือกค่อนข้างเยอะ แล้วแต่ความชอบของผู้เล่น
- รหัส จะต้องมีรหัสระบุไว้ บนลูกเปตองแบบชัดเจน รหัสของแต่ละลูก จะไม่เหมือนกัน และจะต้องประกอบด้วยตัวเลข และตัวอักษรภาษาอังกฤษ
- ยี่ห้อ เป็นสิ่งที่ทางผู้ผลิต จะต้องทำการระบุให้เราแบบชัดเจน ทั้งบนลูกเปตอง และบนบรรจุภัณฑ์ เพราะจะได้ป้องกัน ในเรื่องของการปลอมแปลง
ต่อมาก็คือลูกเป้า หรือที่คนไทย เรียกกันจนติดปากว่า ลูกแก่น จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 30 มิลลิเมตร อาจจะไม่เป๊ะก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 1 มิลลิเมตร สามารถทาสีได้ต้องเป็นสีที่ ค่อนข้างจะมองเห็นได้แบบไกล ๆ หากตามกติกาของเปตองแล้ว ลูกเป้าห้ามทำมาจากวัสดุ ที่สามารถมีปฏิกิริยากับแม่เหล็กได้ และห้ามเป็นพลาสติก
จุดยืนหรือวงกลมที่ใช้ยืน ส่วนใหญ่จะใช้เป็นวงกลมสำเร็จรูป ที่ใช้ในการแข่งขันอยู่แล้ว โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 35 – 50 เซนติเมตร แต่หากซ้อมแข่งขัน หรือไม่มีวงกลมแบบสำเร็จรูป ก็สามารถวาดเอาเองได้เลย โดยเราต้องยืนในวง แบบฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้างอยู่ในวง ห้ามออกนอกวงเด็ดขาด
ตลับเมตร หรือตัวช่วยอื่น ๆ ที่สามารถใช้วัดได้ เพราะว่าในบางครั้ง อาจเกิดเหตุการณ์ ที่ลูกเปตองของทั้ง 2 ฝ่าย มีความใกล้เคียงกัน มากจนเกินไป ทำให้ไม่สามารถดูออก ด้วยตาเปล่าได้ จึงต้องใช้ตัวช่วย เพื่อที่จะวัดระยะทาง จากลูกเป้าสู่ลูกเปตอง
และนอกจากนี้ ก็จะมีป้ายบอกคะแนน ที่อยู่บริเวณสนาม และผ้าเช็ดลูกเปตองอีกด้วย ในส่วนของสนามนั้น จะมีมาตรฐานอยู่ที่ กว้าง 4 เมตร และยาว 15 เมตร ซึ่งจะมีทั้งสนามแบบเรียบ และสนามแบบขรุขระ และจะต้องมีที่กั้นสนาม หากเป็นสนามติดกัน โดยต้องกั้นอย่างน้อย 1 เมตร
กติกากีฬาเปตอง ในการแข่งขันแต่ละครั้ง มีกติกาอะไรบ้าง ?
ต่อมาเรามาพูดถึง ในส่วนของกติกากันบ้าง อย่างแรกเลยก็คงจะเป็น เรื่องของผู้เล่น จะต้องมีด้วยกัน 2 ฝ่าย และสามารถแบ่งออกได้เป็น การแข่งขันแบบฝ่ายละ 3 2 หรือ 1 คนก็ได้ ซึ่งจะถูกเรียกว่า การแข่งแบบทีม คู่ เดี่ยว
หากแข่ง 3 คน จะต้องมีลูกเปตองคนละ 2 ลูก แต่หากเป็น 2 และ 1 คนจะต้องมี 3 ลูก ลูกเปตองจะต้องเป็นไปตามกฎ ที่เราได้บอกไปข้างต้น และรวมถึงลูกเป้าด้วยเช่นกัน
ห้าม ผู้เล่นกีฬาเปตอง เปลี่ยนลูกเป้า และลูกเปตอง ในตอนที่กำลังแข่งขัน ต่อมาในส่วนของวิธีเล่น สามารถเล่นกับสนาม ได้ทุกรูปแบบเลย เว้นแต่ว่าจะเป็น สนามคอนกรีตหรือไม้ และพื้นดินที่หญ้าสูง
ต่อมาเมื่อถึงเวลาแข่ง ผู้เล่นจะต้องลงสนาม ตามเวลาที่ได้ทำการกำหนดให้ แล้วจากนั้นก็ตกลงกัน ว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายโยนลูกเป้า โดยจะโยนได้ในระยะ 6 – 10 เมตร เป็นระยะมาตรฐาน
และทั้งหมดนี้ก็คือเรื่องของ บทความกีฬาทุกประเภท ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับ กีฬาเปตอง หากใครที่เป็นคนรักในกีฬา บอกได้เลยว่า กีฬานี้ก็ค่อนข้างสนุก และ ประโยชน์ของกีฬาเปตอง ยังมีมากมาอีกด้วย และไม่ควรพลาดเลยจริง ๆ
ชาเย็นสีส้ม