การเล่นแชร์บอล การเล่นกีฬาในวัยเด็ก รื้อฟื้นความทรงจำของใครหลาย ๆ คน เกี่ยวกับกีฬานี้

การเล่นแชร์บอล

การเล่นแชร์บอล ทำความรู้จักกับกีฬาสุดฮิตสมัยเด็ก

การเล่นแชร์บอล สวัสดีค่ะทุกคน หลายคนในวัยเด็ก น่าจะมีความทรงจำ ในช่วงโรงเรียนประถม และโรงเรียนมัธยม กันมาบ้างพอสมควรแล้ว ยิ่งตอนประถม จะเป็นช่วงวัยติดเล่น เราก็จะค่อนข้างทำอะไร แบบไม่คิดหน้าคิดหลังหลาย ๆ อย่างเลย

พอมามัธยมหน่อย ก็เริ่มตัดการกระทำบางอย่างออกไป เพราะเมื่อยิ่งโตขึ้น เราก็จะได้เห็นอะไรหลาย ๆ อย่างมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อพูดถึงตอนเด็ก เราก็คงจะเคยเรียน ในคาบวิชาพลศึกษา ที่เป็นวิชาในดวงใจ ของใครหลาย ๆ คน เพราะว่ามันจะไม่มีอะไรมากเลย เพียงแค่เล่นกีฬาสนุก ๆ เพื่อสร้างเสริมให้เรา มีร่างกายที่แข็งแรง มาตั้งแต่ตอนเด็ก 

ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เพราะเราได้ทำการฝึกฝน เพื่อเพิ่มศักยภาพ ร่างกายของตนเอง ให้ดีขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งยังไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะส่วนใหญ่แล้ว เราก็จะใช้กำลังในการเลย มากกว่าการใช้สมองทั้งนั้น

แล้วแน่นอนว่า เราก็จะมาพูดถึงกีฬากันในวันนี้ และนี่ก็เป็นกีฬาในวัยเด็กของสาว ๆ ที่ไม่ว่าใครก็ชอบ และคิดถึงมันแน่นอน โดยกีฬาชนิดนี้ก็มีชื่อว่า กีฬาแชร์บอลนั่นเอง ซึ่งมันคงเป็นสมัย การเล่นแชร์บอล ป. 4 เลยก็ว่าได้

รูปการเล่นแชร์บอล

ก่อนอื่นเลยเราก็จะมาทำความรู้จัก เกี่ยวกับประวัติของมัน กันเลยดีกว่า ประวัติแชร์บอล สำหรับกีฬานี้นั้น อาจจะไม่ค่อยมีข้อมูล อะไรมากมายเท่าไหร่ เกี่ยวกับประวัติของมัน เพราะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดแบบละเอียด เกี่ยวกับกีฬานี้

แต่ก็พอรู้มาบ้างว่า มีการพัฒนา มาจากคนที่ทำการคิดค้น กีฬาฟุตบอล นั่นก็คือ พ.ต.อ.มงคล พรหมศักดิ์ ณ สกลนคร ซึ่งเขาเนี่ยก็ได้ดัดแปลง มาจากกีฬาอื่น ๆ โดยมีพื้นฐานแชร์บอล มาจากกีฬาหลาย ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็น บาสเกตบอล หรือแฮนด์บอล เป็นต้น

แต่ว่าในส่วนของกฎ กติกา การเล่นแชร์บอล ก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ก็ไม่มากมายอะไร โดยจุดประสงค์ของมัน ก็จะเป็นการที่ผู้เล่นทุกคน จะต้องช่วยเหลือกันในทีม โดยการทำยังไงก็ได้ ให้ลูกบอลนั้น สามารถเข้าตะกร้า ของฝ่ายตรงข้ามได้ 

โดยที่ไม่ผิดกติกาใด ๆ ซึ่งเป็นกีฬา ที่จะต้องใช้ความสามัคคีมาก ๆ เพราะการที่เราจะเล่นคนเดียว ให้ได้แต้มนั้น ถือเป็นเรื่องยากเลยทีเดียว เพราะนอกจากสนามจะกว้างแล้ว ก็จะมีอีกฝ่าย ที่คอยปัดลูก ไม่ให้เข้าตะกร้าอยู่อีกด้วย

การเล่นแชร์บอล ตำแหน่ง อุปกรณ์และสนามที่ใช้ในการเล่น

มาดูกันที่ส่วนแรก กันก่อนดีกว่า นั่นก็คือส่วนของตำแหน่ง แชร์บอลเล่นกี่คน การเล่นแชร์บอล จะมีผู้เล่นด้วยกัน ทั้งหมด 7 คนที่จะเป็นตัวจริง ในการลงสนาม และสามารถมีผู้เล่นสำรองได้ 5 คน จะไม่มีตำแหน่งที่แน่นอน เหมือนกับกีฬาฟุตบอล 

แต่ก็จะมีการล็อกตำแหน่งไว้ 2 ตำแหน่ง นั่นก็คือตำแหน่งของตัวปัด และตำแหน่งคนถือตะกร้า ในส่วนของคนถือตะกร้า จะต้องคอยถืออยู่บนเก้าอี้ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถลงเล่นได้ นอกจากมีการเปลี่ยนตัวให้ลงเล่น

และในส่วนของตัวปัด หรือที่บางคน อาจจะเรียกว่า ผู้ถือตะกร้า แชร์บอล ก็คือจะคอยปัดลูก ของทีมตรงข้าม ถึงจะล็อกตำแหน่งไว้ ว่าต้องอยู่ใต้คนถือตะกร้าเท่านั้น แต่ก็สามารถลงเล่นในสนามได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ว มักจะไม่นิยมลงเล่น เพราะจะยากต่อการวิ่งกลับมาปัดลูก 

ถ้าตัวสูงก็จะได้เปรียบหน่อย แล้วก็หากบางคนที่ตัวเล็ก แต่มีการกระโดดที่สูง ก็จะเป็นตำแหน่งนี้ได้เช่นกัน ส่วนในตำแหน่งอื่น ๆ ก็แล้วแต่ว่าทีมนั้น จะจัดแจงกันยังไง เพราะแต่ละคน จะมีเทคนิคการเล่น ที่แตกต่างกันออกไป 

ต่อมาก็คือ ในส่วนของอุปกรณ์ การเล่นแชร์บอล และสนามการเล่นแชร์บอล สำหรับสนามแชร์บอลนั้น จะต้องเป็นสนามรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่มีความกว้างประมาณ 16 เมตร และยาว 32 เมตร สามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วนเท่า ๆ กันได้ ซึ่งสนามแบ่งเส้น ก็จะแบ่งตามความเหมาะสม สามารถเปลี่ยนแปลงได้

ต้องมีขอบสนาม 1 เมตร และหากอยู่ในร่ม ก็ควรที่จะมีความสูงมากกว่า 6 เมตร เช่น โดมกีฬา เป็นต้น และในสนามนั้น ก็จะมีวงกลมอยู่กลางสนาม ใช้เป็นจุดกึ่งกลาง สำหรับเส้นแบ่งเขต ต้องมีรัศมีอยู่ที่ 1.80 เมตร

การเล่นแชร์บอล

เขตตัวปัด หรือผู้ป้องกันตะกร้า จะอยู่แถว ๆ จุดกึ่งกลางของเส้นหลังทั้ง 2 ฝั่ง เป็นรูปครึ่งวงกลมที่มีรัศมี 3 เมตร เส้นโทษ จะอยู่ถัดจากจุดกึ่งกลางของเส้นหลัง แต่ว่าจะอยู่ในสนาม 8 เมตร โดยเส้นนั้นก็จะต้องลากขนานกันกับเส้นหลัง 50 เซนติเมตร โดยเส้นบนสนามทุกเส้น จะต้องกว้าง 5 เซนติเมตร และต้องเป็นสีขาวเท่านั้น

อุปกรณ์ในการเล่นแชร์บอล ก็จะมีเป็นเก้าอี้ ที่จะมีไว้ เพื่อให้ผู้ถือตะกร้าได้ยืน โดนจะต้องเป็นเก้าอี้ 4 ขา มีความแข็งแรงและปลอดภัย ไม่มีพนักพิง สูง 35 – เซนติเมตรและกว้าง 30 – 35 เซนติเมตร 

จะใช้ทั้งหมด 2 ตัวด้วยกัน ทีมละ 1 ตัว เก้าอี้ทั้ง 2 ตัวต้องมีขนาดใกล้เคียงกัน และตำแหน่งของเก้าอี้ ก็จะอยู่ที่จุดกึ่งกลางเส้นหลัง แต่ขาหน้าของเก้าอี้ 2 ขา จะต้องวางอยู่บนเส้นของสนาม

ต่อมาที่ต้องมีก็คือ ตะกร้า จะต้องมีความสูง 30 – 35 เซนติเมตร ปากของตะกร้า จะต้องเป็นลักษณะของทรงกลม ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 – 35 เซนติเมตร เช่นเดียวกันกับความสูง ต้องมีน้ำหนักที่เบาเท่ากันทั้ง 2 ทีม และวัสดุเป็นหวาย ต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้เล่น 

ลูกแชร์บอล ก็คือลูกที่ใช้ในการเล่น จะต้องได้รับการรับรอง ตามมาตรฐานก่อน ในส่วนของกรรมการ ก็จะมีเป็น นาฬิกา 2 เรือน ใช้สำหรับจับเวลาในการแข่งขัน ใบสำหรับบันทึกการแข่ง 

ป้ายในการบอกคะแนน นกหวีดหรือสัญญาณอะไรก็ได้ ที่แสดงให้เห็นว่า ได้หมดเวลาการแข่งขันแล้ว นอกจากนี้ถ้ามีเป็นป้ายบอกจำนวนครั้ง ในการทำผิดกติกา หรือการฟาวล์ ก็จะดีมาก ๆ 

วิธีการเล่นแชร์บอลสั้นๆ ฉบับคนที่ไม่เคยเล่นก็สามารถเข้าใจได้

รูปแบบของมันนั้น ก็จะเหมือนกับการเล่นฟุตบอลเลย จะมีการสลับฝั่ง ของตัวปัดและผู้ถือตะกร้า พอเริ่มเกมมาทั้ง 2 ฝ่ายก็ลงเล่นกัน ในแบบฉบับของแต่ละทีม โดยสิ่งที่เราจะสามารถทำได้ ก็จะมีเป็น จับ กลิ้ง ส่ง ขว้าง รวมถึงตีกับปัดด้วยเช่นกัน แต่ต้องใช้อวัยวะ ที่อยู่ตั้งแต่เหนือสะเอวขึ้นไป จนถึงศีรษะ 

สามารถถือลูกบอลได้ หรือโยนขึ้นกลางอากาศได้ไม่เกิน 3 วินาทีเท่านั้น การจะหันทิศ สามารถทำได้แต่ต้องมีเท้าหลัก ที่จะขยับไม่ได้ แต่อีกข้างสามารถหมุนได้ ใช้ลำตัวบังคู่ต่อสู้ แต่ห้ามมีเจตนาทำร้าย เพราะไม่งั้นจะถูกตัดออกจากการแข่ง 

การให้คะแนน จะนับก็ต่อเมื่อลูกแชร์บอล ได้ลงตะกร้าโดยตรง และผู้ถือตะกร้า อยู่บนเก้าอี้โดยไม่หล่นลงมา ถ้าเกิดว่าลูกแชร์บอลนั้น ลงตะกร้าขณะที่กรรมการ ได้ให้สัญญาณว่าหมดเวลาแล้ว ลูกนั้นจะไม่ได้แต้ม

คะแนนที่ได้จากการเล่น แบบไม่ผิดกติกาใด ๆ จะได้ลูกละ 2 แต้ม แต่ถ้ามาจากการยิงโทษ จะได้ลูกละ 1 แต้ม หากเมื่อจบเกมแล้ว ทีมไหนทำคะแนนได้มากกว่า ทีมนั้นก็จะเป็นฝ่ายชนะไป และนี่ก็เป็น รูปการเล่นแชร์บอล สำหรับใครที่ยังนึกภาพการเล่นไม่ออก

ประโยชน์ของการเล่นแชร์บอล

นอกจากนี้นั้น ประโยชน์ของการเล่นแชร์บอล ยังมีมากมาย เป็นกีฬาที่น่าสนใจมาก ๆ เลยทีเดียว เพราะมีคนเล่นมากมาย แต่น่าเสียดาย ที่เมื่อยิ่งโตขึ้น กีฬานี้นั้น ก็ยิ่งไม่มีคนเล่น แต่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีเลยนะ มันมีแต่แค่ส่วนน้อยเท่านั้น

ก็จบไปแล้วสำหรับ บทความกีฬาทุกประเภท ในเรื่องของ การเล่นแชร์บอล ที่รวบรวมข้อมูลมาให้ ตั้งแต่เรื่องของประวัติ อุปกรณ์กีฬา การให้คะแนนต่าง ๆ หากใครที่ชื่นชอบกีฬานี้ และคิดถึงมัน ก็สามารถลองกลับไปเล่นกันดูได้ เหมือนเป็นการรำลึกความหลังเบา ๆ 

ชาเย็นสีส้ม